พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระสมเด็จอรหัง...
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์คะแนน
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์คะแนน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จากที่ท่านผู้อ่านได้ขอให้ช่วยเขียนประวัติพระสมเด็จอรหัง โดยเฉพาะพระพิมพ์เล็ก วันนี้ก็เลยถือโอกาสเขียนถึงซะหน่อยนะครับ พระสมเด็จอรหัง ซึ่งเชื่อกันว่าพระชนิดนี้เป็นพระที่สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้างไว้ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร ประสูติกาลเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 (พ.ศ. 2276) ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ เดิมอยู่ที่วัดท่าหอย ริมคูจาม แขวงพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดอาราธนามาครองวัดพลับแล้วทรงสถาปนาให้เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณสังวร ด้วยมีพระราชดำริว่า เป็นพระคณาจารย์ผู้ช่ำชองพระกัมมัฏฐาน เป็นที่เคารพสักการะแห่งชนทั้งหลาย ทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมมีเมตตาแก่กล้านักถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อนให้ เชื่องได้เสมอด้วยไก่บ้าน ทำนองเดียวกับสรรเสริญกถาเรื่องพระสุวรรณสามโพธิสัตว์ ในชาดกฉะนั้น คนทั้งหลายก็พากันถวายพระเกียรตินามว่า "สังฆราชไก่เถื่อน"
นอกจาก นี้สมเด็จพระสังฆราช สุก ยังทรงเป็นพระกัมวาจาจารย์ของ สมเด็จพระราชวังบวรสุรสีหนาท และกรมพระราชวังหลัง ทรงเป็น พระอุปัชฌาย์ ของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และทรงเป็นพระอุปัชฌาย์เณร ของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อทรงบรรพชา ต่อมาในรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระญาณสังวร ครั้นเมื่อสมเด็จพระสังฆราช(มี) สิ้น พระชนม์ก็ทรงสถาปนาสมเด็จพระวันรัตน์ อาจ ขึ้นเป็นพระสังฆราช แต่ก็มาต้องอธิกรณ์ถูกถอดเสีย จึงทรงโปรดเกล้าฯ อาราธนา สมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ด้วยมีพระราชดำริว่า พระองค์ท่านมีพรรษาอายุสูงมากอยู่แล้ว แม้จะมิได้เป็นพระราชาคณะฝ่ายคันถธุระ ทรงใคร่สนองคุณให้ถึงที่สุด โปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุฯ พระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 182 (พ.ศ. 2363) แล้วทรงประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำ นับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงครองพระอารามแห่งนี้เพียงปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์
พระสมเด็จอรหัง นี้สันนิษฐานว่า ได้สร้างเมื่อครั้งที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ท่านมาประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ แล้ว พระสมเด็จอรหังมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์และหลายเนื้อ กล่าวคือ มีพระพิมพ์ฐานสามชั้น (พิมพ์สังฆาฏิ) พระพิมพ์สามชั้นเกศอุ พระพิมพ์ฐานคู่ พระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นมีประภามณฑล และพระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นไม่มีประภามณฑล ส่วนเนื้อของพระสมเด็จอรหังเป็นเนื้อปูนเปลือกหอย แบบออกขาวละเอียด เนื้อขาวหยาบมีเม็ดทราย เนื้อขาวหยาบออกอมสีเขียวก้านมะลิ และยังมีประเภทเนื้อออกสีแดงเรื่อๆ พระสีนี้มักจะมีเนื้อหยาบ
พระส่วนใหญ่ของท่านมักจะมีจารคำว่าอรหังเป็นอักษรขอมไว้ที่ด้านหลัง แต่ที่ไม่เขียนเลยก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย และมีส่วนหนึ่งที่ด้านหลังเป็นตราประทับคำว่าอรหังกดที่ด้านหลังแทนการเขียน นักนิยมพระเครื่องมักเรียกหลังแบบนี้ว่า หลังโต๊ะกัง เมื่อพระส่วนใหญ่มีจารบ้างประทับตราคำว่าอรหังบ้าง เป็นส่วนใหญ่ นักนิยมพระเครื่องจึงเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระสมเด็จอรหัง"
พระสมเด็จอรหัง เป็นพระที่สร้างแจกเป็นส่วนใหญ่และมีบรรจุไว้บ้าง มีการพบที่วัดมหาธาตุฯ และเคยมีพบอีกที่วัดสร้อยทอง แต่พระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นจะมีเนื้อหยาบกว่าที่พบที่วัดมหาธาตุฯ และพบเป็นเนื้อแดงเสียเป็นส่วนมาก ทีนี้มาว่ากันถึงพระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กกัน พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็ก มีอยู่ด้วยกันสองพิมพ์ตามที่กล่าวมาแล้ว คือพิมพ์ที่มีประภามณฑลและพิมพ์ไม่มีประภามณฑล เท่าที่พบทั้งสองพิมพ์จะเป็นพระเนื้อผงสีขาวและที่ด้านหลังส่วนมากจะมีจารคำ ว่าอรหังเกือบทุกองค์ ทั้งสองพิมพ์จะมีขนาดประมาณ กว้าง 1 ซ.ม. สูง 1.5 ซ.ม.พิมพ์ที่มีประภามณฑลนั้น จะมีเส้นประภามณฑลที่รอบพระเศียร เป็นเส้นบางๆ พระเกศเรียวเล็ก พระพักตร์ตื้น ปรากฏเส้นเอ็นคอเล็กเรียว ลำพระองค์หนาลึก หน้าตักเป็นแอ่งเว้า มีฐานสามชั้น พิมพ์ไม่มีประภามณฑล ที่รอบพระเศียรจะไม่มีประภามณฑล พระเกศเรียวเล็ก พระพักตร์ตื้น มีเส้นเอ็นคอเรียวเล็ก ลำพระองค์หนา แขนทั้งสองข้างเรียวเล็กกว่าพิมพ์มีประภามณฑล หน้าตักแคบกว่าพิมพ์มีประภามณฑลและไม่ค่อยเป็นแอ่งเว้า ฐานสามชั้นแคบเกือบเท่ากับหน้าตัก ผิดกับพิมพ์มีประภามณฑล ครับในวันนี้ผมได้ค้นรูป พระสมเด็จอรหัง พิมพ์มีประภามณฑล ได้เพียงรูปเดียว ส่วนพระพิมพ์ไม่มีประภามณฑลนั้นยังหารูปไม่ได้ เนื่องจากองค์พระมีน้อยจึงหารูปได้ยาก วันนี้ก็เลยนำรูปพระสมเด็จอรหังพิมพ์มีประภามณฑลมาลงให้ดูได้เพียงรูปเดียวครับ
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
ผู้เข้าชม
7349 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
mon37
ชื่อร้าน
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
ร้านค้า
mon99.99wat.com
โทรศัพท์
0903569057
ไอดีไลน์
Golf (ID LINE:0958629621), (มน ID:090-3569057)
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1
หรียญ ร-๕ หลังตราแผ่นดินลงจา
เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์วัง ฐิ
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อทอง วัดบ้
เหรียญรุ่น๒ หลวงปู่โชติ ธัมธโร
เหรียญหลวงพ่อพิบูลย์ บล็อคสาย
เหรียญ หลวงปู่กู่แก้ววิทยาราม
เหรียญเสือเผ่น หลวงพ่อสุด วัดก
เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหารา
พระผงรูปเหมือน หหลังใบไม้ หลวง
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
นานา
kaew กจ.
ep8600
pratharn_p
someman
NongBoss
hopperman
holypanyadvm
fuchoo18
bruceAmulets
โกหมู
แพทนาหยาด
varavet
กรัญระยอง
เทพจิระ
มัญจาคีรี ud
ภูมิ IR
tatingtating
Erawan
okpra
Gigs7896365
อ้วนโนนสูง
จ่าดี พระกรุ
Joker Tanakron
Beerchang พระเครื่อง
หริด์ เก้าแสน
มงคลเก้า
swat
digitalplus
tumlawyer
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1032 คน
เพิ่มข้อมูล
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์คะแนน
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์คะแนน
รายละเอียด
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์คะแนน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จากที่ท่านผู้อ่านได้ขอให้ช่วยเขียนประวัติพระสมเด็จอรหัง โดยเฉพาะพระพิมพ์เล็ก วันนี้ก็เลยถือโอกาสเขียนถึงซะหน่อยนะครับ พระสมเด็จอรหัง ซึ่งเชื่อกันว่าพระชนิดนี้เป็นพระที่สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้างไว้ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร ประสูติกาลเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 (พ.ศ. 2276) ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ เดิมอยู่ที่วัดท่าหอย ริมคูจาม แขวงพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดอาราธนามาครองวัดพลับแล้วทรงสถาปนาให้เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณสังวร ด้วยมีพระราชดำริว่า เป็นพระคณาจารย์ผู้ช่ำชองพระกัมมัฏฐาน เป็นที่เคารพสักการะแห่งชนทั้งหลาย ทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมมีเมตตาแก่กล้านักถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อนให้ เชื่องได้เสมอด้วยไก่บ้าน ทำนองเดียวกับสรรเสริญกถาเรื่องพระสุวรรณสามโพธิสัตว์ ในชาดกฉะนั้น คนทั้งหลายก็พากันถวายพระเกียรตินามว่า "สังฆราชไก่เถื่อน"
นอกจาก นี้สมเด็จพระสังฆราช สุก ยังทรงเป็นพระกัมวาจาจารย์ของ สมเด็จพระราชวังบวรสุรสีหนาท และกรมพระราชวังหลัง ทรงเป็น พระอุปัชฌาย์ ของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และทรงเป็นพระอุปัชฌาย์เณร ของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อทรงบรรพชา ต่อมาในรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระญาณสังวร ครั้นเมื่อสมเด็จพระสังฆราช(มี) สิ้น พระชนม์ก็ทรงสถาปนาสมเด็จพระวันรัตน์ อาจ ขึ้นเป็นพระสังฆราช แต่ก็มาต้องอธิกรณ์ถูกถอดเสีย จึงทรงโปรดเกล้าฯ อาราธนา สมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ด้วยมีพระราชดำริว่า พระองค์ท่านมีพรรษาอายุสูงมากอยู่แล้ว แม้จะมิได้เป็นพระราชาคณะฝ่ายคันถธุระ ทรงใคร่สนองคุณให้ถึงที่สุด โปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุฯ พระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 182 (พ.ศ. 2363) แล้วทรงประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำ นับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงครองพระอารามแห่งนี้เพียงปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์
พระสมเด็จอรหัง นี้สันนิษฐานว่า ได้สร้างเมื่อครั้งที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ท่านมาประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ แล้ว พระสมเด็จอรหังมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์และหลายเนื้อ กล่าวคือ มีพระพิมพ์ฐานสามชั้น (พิมพ์สังฆาฏิ) พระพิมพ์สามชั้นเกศอุ พระพิมพ์ฐานคู่ พระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นมีประภามณฑล และพระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นไม่มีประภามณฑล ส่วนเนื้อของพระสมเด็จอรหังเป็นเนื้อปูนเปลือกหอย แบบออกขาวละเอียด เนื้อขาวหยาบมีเม็ดทราย เนื้อขาวหยาบออกอมสีเขียวก้านมะลิ และยังมีประเภทเนื้อออกสีแดงเรื่อๆ พระสีนี้มักจะมีเนื้อหยาบ
พระส่วนใหญ่ของท่านมักจะมีจารคำว่าอรหังเป็นอักษรขอมไว้ที่ด้านหลัง แต่ที่ไม่เขียนเลยก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย และมีส่วนหนึ่งที่ด้านหลังเป็นตราประทับคำว่าอรหังกดที่ด้านหลังแทนการเขียน นักนิยมพระเครื่องมักเรียกหลังแบบนี้ว่า หลังโต๊ะกัง เมื่อพระส่วนใหญ่มีจารบ้างประทับตราคำว่าอรหังบ้าง เป็นส่วนใหญ่ นักนิยมพระเครื่องจึงเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระสมเด็จอรหัง"
พระสมเด็จอรหัง เป็นพระที่สร้างแจกเป็นส่วนใหญ่และมีบรรจุไว้บ้าง มีการพบที่วัดมหาธาตุฯ และเคยมีพบอีกที่วัดสร้อยทอง แต่พระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นจะมีเนื้อหยาบกว่าที่พบที่วัดมหาธาตุฯ และพบเป็นเนื้อแดงเสียเป็นส่วนมาก ทีนี้มาว่ากันถึงพระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กกัน พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็ก มีอยู่ด้วยกันสองพิมพ์ตามที่กล่าวมาแล้ว คือพิมพ์ที่มีประภามณฑลและพิมพ์ไม่มีประภามณฑล เท่าที่พบทั้งสองพิมพ์จะเป็นพระเนื้อผงสีขาวและที่ด้านหลังส่วนมากจะมีจารคำ ว่าอรหังเกือบทุกองค์ ทั้งสองพิมพ์จะมีขนาดประมาณ กว้าง 1 ซ.ม. สูง 1.5 ซ.ม.พิมพ์ที่มีประภามณฑลนั้น จะมีเส้นประภามณฑลที่รอบพระเศียร เป็นเส้นบางๆ พระเกศเรียวเล็ก พระพักตร์ตื้น ปรากฏเส้นเอ็นคอเล็กเรียว ลำพระองค์หนาลึก หน้าตักเป็นแอ่งเว้า มีฐานสามชั้น พิมพ์ไม่มีประภามณฑล ที่รอบพระเศียรจะไม่มีประภามณฑล พระเกศเรียวเล็ก พระพักตร์ตื้น มีเส้นเอ็นคอเรียวเล็ก ลำพระองค์หนา แขนทั้งสองข้างเรียวเล็กกว่าพิมพ์มีประภามณฑล หน้าตักแคบกว่าพิมพ์มีประภามณฑลและไม่ค่อยเป็นแอ่งเว้า ฐานสามชั้นแคบเกือบเท่ากับหน้าตัก ผิดกับพิมพ์มีประภามณฑล ครับในวันนี้ผมได้ค้นรูป พระสมเด็จอรหัง พิมพ์มีประภามณฑล ได้เพียงรูปเดียว ส่วนพระพิมพ์ไม่มีประภามณฑลนั้นยังหารูปไม่ได้ เนื่องจากองค์พระมีน้อยจึงหารูปได้ยาก วันนี้ก็เลยนำรูปพระสมเด็จอรหังพิมพ์มีประภามณฑลมาลงให้ดูได้เพียงรูปเดียวครับ
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
7350 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
mon37
ชื่อร้าน
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
URL
http://www.mon99.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0903569057
ID LINE
Golf (ID LINE:0958629621), (มน ID:090-3569057)
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี